วิธีทําข้อสอบให้ได้คะแนนเยอะ เทคนิคเดาข้อสอบ ตอบยังไงให้ได้คะแนน

เทคนิคเดาข้อสอบ ตอบยังไงให้ได้คะแนน

น้องๆ ที่อ่านหนังสือไม่ทัน หรืออาจจะจำแนวข้อสอบได้ไม่หมด และแม้จะอ่านหนังสือไปหนักแค่ไหน สุดท้ายพอเจอข้อสอบที่เหนือคาด ก็จนมุม มึนตึ้บขึ้นมาได้

ดังนั้น บทความนี้เราจึงมี เทคนิคเดาข้อสอบ ตอบยังไงให้ได้คะแนน มาฝากน้องๆ ให้เอาไปใช้เป็นเทคนิคเล็กๆ ช่วยก่อนสอบกัน จะมีอะไรน่าทำตามบ้าง มาดูกัน 


 วิธีทําข้อสอบให้ได้คะแนนเยอะ เทคนิคเดาข้อสอบ ตอบยังไงให้ได้คะแนน ,เทคนิคการทำข้อสอบ, ทํา ข้อสอบ , วิธีเดาข้อสอบคณิตศาสตร์ , วิธีทําข้อสอบให้ได้คะแนนเยอะ , วิธี เดา ข้อสอบ คณิตศาสตร์ ,วิธีเดาข้อสอบ คณิตศาสตร์ , วิธีเดาข้อสอบคณิต

เลือกทำข้อที่มั่นใจก่อน
เปิดข้อสอบปุ๊บ ใจหล่นไปอยู่ตาตุ่มปั๊บ อาการตกใจข้อสอบแบบนี้เห็นได้บ่อยๆ แต่น้องต้องตั้งสติ อ่านข้อสอบคร่าวๆ หนึ่งรอบ ถ้ายังไม่เข้าใจคำถามให้อ่านอย่างละเอียดและตั้งใจอีกครั้ง

แต่หากอ่านไปสองรอบน้องยังไม่เข้าใจ ยังงงๆ และไม่มีข้อมูลหรือคำตอบโผล่มาในหัวซักนิด ก็ให้ข้ามไปทำข้ออื่นทันที อย่ามัวเสียเวลา เพราะไม่มีข้อสอบไหนยากไปทุกข้อ ต้องมีข้อต่อไปที่เราทำได้บ้างแหละ 



ตัดช้อยส์ที่ไม่ใช่ออกทีละข้อ
บ่อยครั้ง เวลาเราทำข้อสอบปรนัยแล้วต้องนั่งกุมขมับกับช้อยส์ที่กำหนดมาให้ บางข้อง่ายหน่อยก็ตอบได้เลย แต่ง่ายไปหมดก็คงไม่ใช่ข้อสอบใช่ไหมล่ะ จึงมีบางข้อที่ต้องวิเคราะห์คำตอบพอสมควร 

ทางหนึ่งที่ น้องๆ สามารถทำได้คือ ตัดช้อยส์ที่ไม่ใช่ออกทีละช้อยส์ นั่นเท่ากับว่าจะเพิ่มเปอร์เซ็นต์ที่จะถูกในข้อนั้นเพิ่มมากขึ้น เช่น ตัดช้อยส์ที่ไม่ใช่ออกไปได้ 2 ช้อยส์ จาก 4 ช้อยส์ นั่นก็เท่ากับว่าเหลืออีก 2 ช้อยส์ ที่อาจจะเป็นคำตอบที่ถูกต้อง



ใช้การประมาณคำตอบ
การประมาณคำตอบเป็นเทคนิคที่มีความสำคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในวิชาฟิสิกส์และคณิตศาสตร์ ที่จะช่วยให้น้องๆ สามารถตัดช้อยส์ในข้อสอบได้หลายข้อเลยทีเดียว เช่น โจทย์บอกว่า ผู้ชาย 3 คนสร้างบ้าน 3 หลังเสร็จในระยะเวลา 5 วัน ถามว่าผู้ชาย 2 คนสร้างบ้าน 4 หลังเสร็จในระยะเวลากี่วัน

ในข้อนี้น้องๆ สามารถประมาณได้เลยว่า คำตอบต้องไม่น้อยกว่า 5 วันแน่ๆ เพราะ คนก็น้อยลง จำนวนบ้านที่ต้องสร้างก็เพิ่มขึ้น ดังนั้นจึงเป็นไปไม่ได้อย่างแน่นอนที่จะใช้เวลาลดลง



ช้อยส์ที่ขัดแย้งกันเอง มักมีช้อยส์นึงที่ถูก
เมื่อน้องๆ เจอโจทย์ที่ให้ช้อยส์หรือคำตอบที่ขัดแย้งกันเอง โดยทั่วไปมักจะมีข้อใดข้อนึงถูก เช่น น้องมั่นใจว่าคำตอบในโจทย์ข้อหนึ่งเป็นจำนวนเต็มแน่ๆ แล้วมีช้อยส์ 1) x เป็นจำนวนเต็มคู่ 2) x เป็นจำนวนเต็มคี่ คำตอบที่ถูกต้องมักจะเป็นช้อยส์ใดช้อยส์หนึ่งในสองช้อยส์นี้อย่างแน่นอน


ช้อยส์ที่คำตอบเหมือนกัน จะไม่มีข้อใดถูก
ในการทำข้อสอบ ในบางครั้งช้อยส์ที่โจทย์ให้อาจมีความหมายเหมือนกันได้ ซึ่งหมายความว่าช้อยส์ทั้งสองช้อยส์นั้นเป็นช้อยส์หลอกนั่นเอง เช่น อาจเจอช้อยส์ที่ว่า 1) ช่วยให้ผ้าแห้งเร็ว 2) ช่วยลดระยะเวลาในการทำให้ผ้าแห้ง

ทั้งสองช้อยส์นี้มีความหมายเหมือนกันดังนั้นจึงสามารถตัดสองช้อยส์นี้ออกได้ทั้งคู่ (ช้อยส์นี้เป็นเพียงแค่ตัวอย่าง ในโจทย์จริงช้อยส์จะมีความยากกว่านี้)



เลือกช้อยส์ที่ตอบมาน้อยที่สุด
ในการทำข้อสอบนั้น น้องๆ อาจข้ามข้อที่ยังไม่มั่นใจในคำตอบ หรือยังหาคำตอบไม่ได้ไปก่อน หลังจากนั้นให้กลับมาทำในข้อสอบที่ข้ามไป ถ้าหากทำไม่ได้แนะนำให้เลือกเดาคำตอบที่ตอบไปน้อยที่สุด เช่น

ข้อสอบมี 100 ข้อ โดยส่วนใหญ่ผู้ออกข้อสอบมักจะพยายามเฉลี่ยคำตอบให้ตอบ ก ข ค ง พอๆ กัน ดังนั้นคำตอบไหนที่ยังตอบไม่ถึง 25 ข้อ ก็ควรจะเดาคำตอบนั้น อย่างน้อยๆ ก็อาจดีกว่าการสุ่มเลยที่มีโอกาสถูกเพียงแค่ 25%



ใช้ข้อสอบข้ออื่นให้เป็นประโยชน์
ในการทำข้อสอบโดยเฉพาะข้อสอบยาก โจทย์อาจมีบทความสั้นๆ มาเป็นข้อมูลให้ก่อนถามคำถามเกี่ยวกับบทความนั้นๆ ในบางครั้งบทความเหล่านี้นอกจากจะเป็นคำถามสำหรับเราแล้ว ยังเป็นข้อมูลที่ให้ความรู้สำหรับเราด้วยซึ่งอาจนำไปประยุกต์ใช้ในการตัดช้อยส์ในข้อสอบข้ออื่นก็เป็นได้


ทำข้อสอบให้ครบทุกข้อ
เข้าใจเลยว่าตอนทำข้อสอบแล้วคิดคำตอบไม่ออกเป็นช่วงเวลาที่อึดอัดและกดดันจริงๆ จะหันไปลอกเพื่อนข้างๆ ก็ไม่ได้ (ไม่ดีด้วย) เวลาก็เหลือน้อยเต็มที เอาเป็นว่าถ้าหาคำตอบไม่ได้จริงๆ อย่างน้อยที่สุดในเวลาที่เหลือก็พยายาม ทำข้อสอบให้ครบทุกข้อ อย่าทิ้งกระดาษคำตอบให้ว่าง 

พยายามอ่านผ่านๆ และใช้สันชาตญาณเลือกเดาคำตอบที่ผุดขึ้นมาตั้งแต่อ่านครั้งแรก เพราะถ้าน้อง ไม่ทำในข้อนั้นคะแนนก็จะเป็นศูนย์ในทันที แต่หากเดาไปโอกาสที่จะถูกก็ยังมีอยู่บ้าง



เดาใจคนออกข้อสอบ
ข้อสอบบางข้ออาจจะออกไม่ดีทำให้มีช้อยส์ที่กำกวมและอาจเป็นคำตอบได้หลายช้อยส์ ถ้าหากน้องๆ ตกอยู่ในสถานการณ์นั้น แนะนำให้เดาใจคนออกข้อสอบโดยการคิดว่า 

ถ้าข้อสอบต้องการให้ตอบคำตอบนี้ คำถามควรจะถามว่าอะไร แล้วคำตอบไหนที่คำถามที่คนออกควรจะถามตรงกับคำถามในโจทย์ ข้อนั้นแหละคือคำตอบ



ดิ่งอย่างมีศิลปะ
ทางลัดท้ายสุด ในช่วงก่อนหมดเวลาในการสอบ หากทำข้อสอบข้อที่เหลือไม่ได้จริงๆ ก็ให้น้องๆ ใช้เทคนิคทิ้งดิ่งกันไปเลย โดยให้ทิ้งดิ่งข้อที่มีคำตอบน้อยที่สุด เป็นการเฉลี่ยคำตอบให้เท่ากันทุกข้อ แล้วอย่างนี้จะเพิ่มคะแนนได้จริงเหรอ อาจารย์คงไม่ได้เฉลี่ยคำตอบให้เท่ากันหรอกมั้ง?

นั่นก็อาจจะเป็นไปได้ ต้องย้อนกลับไปดูว่าน้องๆ ได้ทำข้อที่มั่นใจไปเกือบหมดแล้ว แต่คำตอบในบางข้อที่ถูกฝนหรือกามีน้อยซะเหลือเกิน เป็นไปได้ที่คำตอบจะอยู่ในข้อเหล่านั้น โอกาสที่จะได้คะแนนก็มีความเป็นไปได้มากขึ้น



ทางลัดเหล่านี้ เป็นเพียงส่วนหนึ่งที่จะช่วยน้องๆ ในห้องสอบให้ผ่านพ้นไปด้วยดี แต่สิ่งสำคัญที่ลืมไม่ได้เลยคือ การอ่านหนังสือและหมั่นทบทวนและเตรียมตัวให้พร้อมสำหรับการสอบตั้งแต่เนิ่นๆ ในทุกสนามสอบ การเตรียมตัวที่ดีบวกกับความขยันขันแข็งอย่างต่อเนื่อง สิ่งเหล่านี้จะช่วยให้การสอบของน้องๆ ผ่านไปได้อย่างราบรื่นตามที่ตั้งใจแน่นอน

 

ปรึกษาทักพี่แอดมินได้ที่ https://www.facebook.com/TCASportfolio/inbox